๑๗๖
บรรทมยามหนึ่งไซร้.... ทรงฤทธิ์
หกทุ่มหมู่บัณฑิต................... ทั่วแท้
สามยามพวกพาณิช............... นรชาติ
นอนที่ยามนั้นแล้....................
เที่ยงแท้เดียรฉาน ฯ
คำแปลศัพท์
บรรทม--หลับ
ยามหนึ่ง-- หนึ่งชั่วยาม หรือ ๓ ชั่วโมง(คืนหนึ่งมี
๔ ยาม หรือ ๑๒ ชั่วโมง)
ไท้-- ผู้เป็นใหญ่
ทรงฤทธิ์-- ผู้มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์
หกทุ่ม-- สองชั่วยาม หรือ ๖ ชั่วโมง(เวลา ๖ ทุ่ม
หรือ ๒๔ นาฬิกา แต่ก่อนนิยมเรียกว่า”สองยาม” คือสองชั่วยาม)
สามยาม-- สามชั่วยาม หรือ ๙ ชั่วโมง
นอนสี่ยาม-- นอน ๑๒ ชั่วโมง นอนทั้งคืน
เดียรฉาน-- สัตว์ทั่วไปนอกจากมนุษย์
ถอดความ
นอนเพียงยามเดียว คือกษัตริย์ตรงตรัสการแผ่นดิน
นอนสองยาม คือบัณฑิตทั้งสิ้นผู้เป็นปราชญ์ปรีชา
นอนสามยาว คือพวกพ่อค้าคิดการทางธุรกิจ
นอนทั้งสี่ยามหลับสนิท คือเดรัจฉานผู้เฉาโฉด
No comments:
Post a Comment