๖๗
นพคุณใส่เบ้าสูบ.... แสนที
ค้อนเหล็กรุมทุบตี.........
ห่อนม้วย
บ่เจ็บเท่าทุลี.................
สักหยาด
เจ็บแต่ท่านชั่งด้วย........
กล่ำน้อยหัวดำ ฯ
คำแปลศัพท์
นพคุณ--
ทองเนื้อเก้า,ทองบริสุทธิ์
เบ้า--
ดินหรือหรือโลหะปั้นเป็นรูปคล้ายถ้วยสำหรับหลอมหรือผสมโลหะ
สูบแสนที-- หลอมแล้วหลอมเล่าตั้งแสนครั้ง
รุนรุน--
รุนกันตีกระหน่ำ
ห่อนม้วย--
ไม่สูญเสียเนื้อทอง, หรือสูญเสียความเป็นทองคำ
ธุลี-- ฝุ่น
ละออง
สักหยาด --สักนิดหนึ่ง
กล่ำ--
ชื่อมาตราเงินโบราณ
๒ กล่อม
เท่ากับ ๑ กล่ำ คือ อัฐ
๒ กล่ำ เป็น ๑
ไพ (กล่ำ= มะกล่ำตาช้าง กล่อม =มะกล่ำตาหนู)
หัวดำ--
ลักษณะของเม็ดมะกล่ำตาช้างที่มีสีดำอยู่ส่วนหัว
ถอดความ
ทองนพคุณใส่เบ้าหลอมละลายสักแสนครั้ง
ใช้ค้อนเหล็กกระหน่ำไม่ยั้งก็ยังไม่สิ้นค่า
การกระทำดังว่ามานี้ไม่ทำให้รู้สึกต่ำต้อยแม้สักนิด
แต่เมื่อท่านเอาเม็ดมะกล่ำหัวดำมาเทียบน้ำหนักช่างทองนี่สิแสนจะเจ็บปวด
No comments:
Post a Comment